ข้อมูลหน่วยงาน

ประวัติความเป็นมา

สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน เป็นหน่วยงานที่เกิดขึ้นจากการรวมหน่วยงานเดิมของสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตภาคตะวันออกเฉียงหนือ 2 หน่วยงานเข้าด้วยกัน ได้แก่ ศูนย์วิทยบริการ และศูนย์คอมพิวเตอร์ จัดตั้งขึ้นตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เมื่อวันที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2550 อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 6 และมาตรา 9 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล พ.ศ. 2548 ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ให้บริการด้านทรัพยากรสารสนเทศ เพื่อการเรียนการสอนการค้นคว้าวิจัยแก่นักศึกษา คณาจารย์ เจ้าหน้าที่ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน และบุคคลทั่วไป โดยการนำเทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัยและเหมาะสมมาใช้ในการบริการ

ปณิธาน
สร้างสังคมแห่งการเรียนรู้แบบยั่งยืน


ปรัชญา
คุณธรรม คุณภาพ สร้างสรรค์การเรียนรู้


วิสัยทัศน์
แหล่งเรียนรู้ สนับสนุนการบริหารจัดการของมหาวิทยาลัยด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลที่ทันสมัยและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

พันธกิจ

1. บริการและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และระบบสารสนเทศของมหาวิทยาลัย เพื่อการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ ด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย
2. บริการและพัฒนาทรัพยากร เพื่อการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการ และการเรียนรู้ตลอดชีวิตโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
3. ส่งเสริมและสนับสนุนการให้บริการวิชาการแก่ชุมชนและท้องถิ่น
4. บริหารพัฒนาองค์กรเข้าสู่องค์การคุณภาพด้วยหลักธรรมาภิบาล และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

    เป้าประสงค์

    1.1 งานบริการด้านวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นที่ยอมรับและสามารถทำตามพันธกิจของมหาวิทยาลัยได้อย่างสมบูรณ์ครบถ้วน
    2.1 มีกิจกรรม/โครงการที่ส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนและการเรียนรู้ตลอดชีวิตที่ตรงกับกลุ่มเป้าหมาย
    3.1 มีสื่อและระบบการจัดการ การเรียนการสอนโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
    4.1 องค์ความรู้ท้องถิ่นที่ได้รับการพัฒนาและจัดเก็บในระบบสารสนเทศอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน
    5.1 เพื่อให้องค์กรเป็นองค์กรที่มีคุณภาพระดับชาติ

    ประเด็นยุทธศาสตร์

    ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 1 Revenue Management : บริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ และเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อก่อให้เกิดรายได้จากการบริการวิชาการ

    • กลยุทธ์ 1  พัฒนา/จัดหา Digital Platform และ Service ที่สามารถใช้ งานร่วมกันได้ทั้งมหาวิทยาลัย (Platform Sharing) และสามารถก่อให้เกิดรายได้
    • กลยุทธ์ 2 ให้บริการทางวิชาการร่วมกับ USI หรือหน่วยงานอื่น เพื่อก่อให้เกิดรายได้กับมหาวิทยาลัย

    ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 2 RMUTI Green Library & IT for Lifelong Learning : การสนับสนุนงานด้านวิทยบริการ และเทคโนโลยีสารสนเทศ ยกระดับการบริหารจัดการด้วยนโยบาย Green University เพื่อรองรับการเรียนรู้ตลอดชีวิต

    • กลยุทธ์ 1 ยกระดับการบริหารจัดการเข้าสู่ Green University
    • กลยุทธ์ 2 พัฒนาปรับปรุงโครงสร้าง อาคารให้ได้มาตรฐาน Green Building
    • กลยุทธ์ 3 พัฒนาปรับปรุงพื้นที่การให้บริการให้เป็น co-working space
    • กลยุทธ์ 4 พัฒนารูปแบบการให้บริการที่เน้นการบริการที่เป็นทรัพยากรทางอิเล็คทรอนิกส์
    • กลยุทธ์ 5 การขยายพื้นที่/การให้บริการไปยังหน่วยงานภายใน/ภายนอก
    • กลยุทธ์ 6 จัดหาทรัพยากรสารสนเทศ  เพื่อสนับสนุนการเรียนการ สอนและการวิจัยและการเรียนรู้ตลอดชีวิต

    ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 3 Digital University : สนับสนุนการปฏิรูประบบการบริหารมหาวิทยาลัยสู่ยุคดิจิทัล และเชื่อมโยงสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน

    • กลยุทธ์ 1 พัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยีสารสนเทศ (4 วข.)
    • กลยุทธ์ 2 พัฒนา RMUTI Green Data Center
    • กลยุทธ์ 3 ปรับปรุงและพัฒนาระบบ RMUTI MIS  (ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร) (4 วข)
    • กลยุทธ์ 4 ปรับปรุงและพัฒนาระบบ RMUTI Education Service System 
    • กลยุทธ์ 5 จัดหา Software ลิขสิทธิ์เพื่อการบริหารจัดการและการเรียนการสอน
    • กลยุทธ์ 6 พัฒนา Platform On-Demand Education (Moodle, EdX, Microsoft Community Training)
    • กลยุทธ์ 7 พัฒนาศูนย์ผลิตสื่อ On-Demand Education (4 วข.) *(ปีละ 1 วข.)
    • กลยุทธ์ 8 นำมาตรฐานมาใช้ในการบริหาร จัดการ ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (ISO27001, Cyber Security)

    ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 4 Innovative Pedagogy and Education : การสนับสนุนการปฏิรูปการเรียนการสอนสมัยใหม่ เพื่อสร้างนักปฏิบัติทักษะสูง นวัตกร ผู้ประกอบการ และพัฒนาทักษะบุคลากรด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ

    • กลยุทธ์ 1 ปรับเปลี่ยน Content และ Service ให้อยู่ในรูปแบบดิจิทัล
    • กลยุทธ์ 2 พัฒนาบุคลากรให้รู้เท่าทันเทคโนโลยี และสามารถใช้เทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์ (พัฒนาทักษะทางด้าน Digital Literacy Skill)
    • กลยุทธ์ 3 พัฒนาปรับปรุงห้องเรียนให้สนับสนุนการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ แบบ Hybird หรือ Hyflex

    ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 5 RMUTI Collaboration : บูรณาการความร่วมมือกับหน่วยงานภายนอก ในการพัฒนาด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการเรียนการสอนออนไลน์ของ มหาวิทยาลัยร่วมกับหน่วยงานภายในและภายนอกเพื่อตอบสนองนโยบายมหาวิทยาลัยแห่งเทคโนโลยีดิจิทัล

    • กลยุทธ์ 1 แสวงหาและดำเนินการตามความร่วมมือในการพัฒนาด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และการเรียนการสอน
    • กลยุทธ์ 2  สนับสนุน/จัดทำโครงการเพื่อพัฒนาด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการเรียนการสอนออนไลน์ของมหาวิทยาลัยร่วมกับหน่วยงานภายในและภายนอก 

    วัฒนธรรมองค์กร

    1. เรียนรู้ (Learn) = งานในห้นาที่ องค์กร สังคม ประเทศและโลก
    2. พัฒนา (Develop) = ตนเอง และงานในหน้าที่ให้สมบรูณ์อย่างต่อเนื่อง

    ค่านิยมร่วม (Shared Values) : OARITS

    R – Resilience        มีความพร้อมในการปรับตัวได้อย่างคล่องแคล่ว และยืดหยุ่น ทันโลก

    U  – Understanding   มีความเข้าอกเข้าใจ เห็นใจ ให้ความเคารพ กับ Student Staff Stakeholders          

    I – Innovation      เป็นนวัตกรรมสร้างนวัตกร ที่เชียวชาญในวิชาชีพและวิทยาการที่หลากหลาย

    อัตลักษณ์
    ศูนย์แห่งการเรียนรู้ที่หลากหลาย ทันสมัย และเป็นห้องสมุดมนุษย์ชั้นนำระดับประเทศ

    เอกลักษณ์
    การบริการทรัพยากรการเรียนรู้เชิงสร้างสรรค์

    นโยบายคุณภาพ
    เรามุ่งมั่นจัดการศึกษาวิชาชีพและเทคโนโลยีที่มีคุณภาพ ตอบสนองความพึงพอใจของผู้รับบริการ ด้วยการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

         1.1 พัฒนาทรัพยากรการเรียนรู้อย่างเป็นระบบ สู่ศูนย์แห่งการเรียนรู้ ได้มาตรฐาน สากล และทันสมัยเพื่อให้มีทรัพยากรหลากหลายทั้งในด้านรูปแบบและเนื้อหาที่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้บริการ
              1.1.1 จัดหา คัดเลือกและทำรายการทรัพยากรการเรียนรู้ในรูปแบบต่าง ๆ ให้มีเนื้อหาที่หลากหลายและสอดคล้องกับหลักสูตร
              1.1.2 เสนอรายชื่อทรัพยากรการเรียนรู้ที่ได้รับจากสำนักพิมพ์/บริษัทต่าง ๆ ส่งไปยังคณะ
              1.1.3 จัดงานออกร้านหนังสือ (Book Fair) ประจำปีเพื่อให้คณาจารย์และนักศึกษาได้คัดเลือก
              1.1.4 สำรวจความพึงพอใจ/คุณภาพการบริการ ให้คณาจารย์และนักศึกษาเสนอความคิดเห็น เพื่อเป็นข้อมูลในการบริหารจัดการ
              1.1.5 สำรวจสถิติการใช้ทรัพยากรการเรียนรู้ของผู้ใช้บริการเพื่อจัดหาทรัพยากรการเรียนรู้ในการให้บริการ เช่น สถิติการยืม – คืน หนังสือสถิติการใช้วารสาร
              1.1.6 จัดให้มีการสำรวจทรัพยากรการเรียนรู้ ปีละ 1 ครั้ง เพื่อสำรวจทรัพยากรที่มีอยู่จริงและจัดทำสถานะทรัพยากรการเรียนรู้ให้ถูกต้องตรงกับความเป็นจริงรวมทั้งใช้เป็นข้อมูลวางแผนการบริหารจัดการต่อไป
              1.1.7 จัดหาเทคโนโลยีสารสนเทศต่าง ๆ มาใช้ในการบริหารจัดการทรัพยากรสารสนเทศ การจัดเก็บและค้นคืนทรัพยากรการเรียนรู้เช่นโปรแกรมห้องสมุดอัตโนมัติตามมาตรฐานสารสนเทศระบบงาน Z39.50 ISO 2395
              1.1.8 จัดทำฐานข้อมูลทรัพยากรการเรียนรู้ของสำนักให้ครบถ้วนและทันสมัย
              1.1.9 จัดหาฐานข้อมูลในสาขาต่าง ๆ ที่สอดคล้องกับหลักสูตรของมหาวิทยาลัย
              1.1.10 จัดอบรมแนะนำบริการวิธีการสืบค้นข้อมูลให้แก่ผู้ใช้บริการ
              1.1.11 จัดบริการห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ (e-Library) เช่น หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-Book) วารสารอิเล็กทรอนิกส์ (e-Journal) ฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ (e–Database)
              1.1.12 จัดทำและจัดเก็บจดหมายเหตุของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน

         1.2 พัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่องานวิชาการอย่างต่อเนื่อง ให้มีการใช้ประโยชน์และคุ้มค่าสูงสุด
              1.2.1 จัดหาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อให้การบริการและการปฏิบัติงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
              1.2.2 ปรับปรุงฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ของระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตให้สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
              1.2.3 สร้างเครือข่ายระบบสารสนเทศภายในและภายนอกสำนัก
              1.2.4 ดำเนินการให้บริการการเรียนรู้ผ่าน e-Learning
              1.2.5 พัฒนาฐานข้อมูลระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารเช่น ฐานข้อมูลบุคลากร ฐานข้อมูลงบประมาณ เป็นต้นสำหรับใช้ในการบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
              1.2.6 จัดอบรมและฝึกทักษะบุคลากรให้สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ
              1.2.7 พัฒนาระบบจัดการเรียนการสอน (Learning Management System : LMS) และบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ (e-Courseware) ในรูปแบบ e-Learning

         1.3 ส่งเสริมการใช้ระบบการจัดการเรียนการสอน e-Learning พัฒนาบทเรียน e-Learning และการศึกษาทางไกล
              1.3.1 ส่งเสริมสนับสนุน การใช้งานระบบการจัดการเรียนการสอน e-Learning โดยการประชาสัมพันธ์ แนะนำ ให้คำปรึกษา สร้างแรงจูงใจ ตลอดจนพัฒนาทักษะแก่อาจารย์ผู้สอน เพื่อให้สามารถใช้ระบบการจัดการเรียนการสอน e-Learning อย่างมีประสิทธิภาพ   

            1.3.2 พัฒนาและจัดหาบทเรียน e-Learning ที่มีคุณภาพ ตามหลักสูตรของมหาวิทยาลัยเพื่อรองรับการเรียนผ่านระบบ e-Learning    

            1.3.3 พัฒนาบทเรียนการศึกษาทางไกล เพื่อสนับสนุนการจัดการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม ตอบสนองการพัฒนาระบบการจัดการศึกษาและกำหนดรูปแบบการจัดการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ที่เปิดโอกาสให้กลุ่มเป้าหมายและประชาชนทั่วไปได้รับบริการทางการศึกษาอย่างกว้างขวาง และทั่วถึง      

         2.1 ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการใช้ทรัพยากรการเรียนรู้ที่จัดหามาอย่างคุ้มค่าและมีประสิทธิภาพ
              2.1.1 แจ้งให้ผู้ใช้บริการทราบถึงทรัพยากรการเรียนรู้ที่มีไว้ให้บริการโดยผ่านทางเว็บไซต์ จดหมายข่าว ป้ายประกาศต่าง ๆ รวมทั้งจัดทำบันทึกข้อความแจ้งถึงคณะและโปรแกรมวิชาต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัย
              2.1.2 จัดตู้โชว์แนะนำหนังสือและวารสารใหม่
              2.1.3 ซ่อมบำรุงทรัพยากรการเรียนรู้ที่ชำรุดและนำมาให้บริการแก่ผู้ใช้บริการอย่างสม่ำเสมอ
              2.1.4 จัดให้มีการบริการสารสนเทศ (บริการตอบคำถามและช่วยค้นคว้า) และบริการเชิงรุกที่สร้างความประทับใจที่ดีแก่ผู้ใช้บริการและสามารถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้บริการ
              2.1.5 ปรับปรุงห้องบริการเฉพาะ เช่น ห้องมินิเธียเตอร์ ห้องบรรยายกลุ่ม ห้องสมาธิเพื่อการเรียนรู้ให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้บริการและมีสภาพพร้อมบริการ
              2.1.6 จัดกิจกรรมพิเศษเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ เช่น Talk Show Contest Crossword, Soundtrack Movies Contest, Karaoke Contest เป็นต้น
              2.1.7 จัดอบรมผู้เรียน (Learner Training)


           2.2 จัดบริการทางวิชาการแก่สังคมด้านวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
              2.2.1 จัดกิจกรรม/โครงการ ตามความต้องการของผู้ใช้บริการ
              2.2.2 เผยแพร่ความรู้/สารสนเทศสู่สาธารณชนผ่านช่องทางต่าง ๆ
              2.2.3 เปิดให้บุคคล/หน่วยงานภายนอกเข้าใช้บริการแหล่งเรียนรู้ของสำนัก เช่นห้องสมุด และศูนย์การเรียนด้วยตนเอง
              2.2.4 จัดอบรมให้แก่บุคคล/ประชาชน/หน่วยงานภายนอก


         2.3 ส่งเสริมการอนุรักษ์ศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม
              2.3.1 จัดกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์ศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อม
              2.3.2 จัดนิทรรศการในวันสำคัญที่เกี่ยวข้องกับศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม

    3.1 พัฒนาระบบการบริหารจัดการให้มีคุณภาพตามมาตรฐานสากล หลักธรรมาภิบาลระบบการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี และหลักเศรษฐกิจพอเพียง
             3.1.1 ปรับปรุงระบบการบริหารงานภายในสำนักโดยแต่งตั้งบุคลากรที่เหมาะสมให้ปฏิบัติหน้าที่หัวหน้างานแต่ละแผนกงานเพื่อเป็นการกระจายอำนาจการบริหาร 
             3.1.2 จัดประชุมคณะกรรมการประจำสำนัก ผู้บริหาร และหัวหน้างานอย่างต่อเนื่องเพื่อพิจารณาเสนอข้อคิดเห็นด้านการบริหารงาน
             3.1.3 จัดประชุมบุคลากรทั้งหมดของสำนักอย่างน้อยภาคการศึกษาละ 1 ครั้งเพื่อชี้แจงการบริหารของผู้บริหารรวมทั้งเปิดโอกาสให้บุคลากรแสดงความคิดเห็น และมีส่วนร่วมในการบริหารงาน
             3.1.4 จัดให้มีช่องทางสำหรับบุคลากร/เสนอความคิดเห็นไว้หลาย ๆ ช่องทาง
             3.1.5 จัดให้มีการติดตาม ประเมินผล ทบทวนปรับปรุงผลการดำเนินงาน/โครงการ
             3.1.6 จัดให้มีการรายงานผลการดำเนินงานรอบ 6 เดือนและรายงานประจำปี
             3.1.7 มีการจัดระบบ/ปรับปรุงขั้นตอนการบริหารงาน และการปฏิบัติงานของสำนักโดยจัดทำคู่มือการปฏิบัติงาน
             3.1.8 จัดประชาสัมพันธ์บริการ กิจกรรม ข่าวสารผ่านช่องทางต่าง ๆ เพื่อเผยแพร่ให้บุคคลภายนอกได้รับรู้


        3.2 พัฒนาบุคลากรให้มีศักยภาพสูงขึ้น และสร้างขวัญกำลังใจให้แก่บุคลากร
             3.2.1 จัดหาบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถให้ตรงกับงาน
             3.2.2 ส่งเสริมให้บุคลากรทุกคนได้รับการพัฒนาอย่างน้อย 2 ครั้งต่อปีเพื่อให้บุคลากรมีประสบการณ์ด้านความรู้ทั่วไป วิชาชีพ คุณธรรม จริยธรรม และการบริการด้วยใจ (Service Mind)
             3.2.3 พิจารณาปรับวุฒิการศึกษาของบุคลากรอย่างเป็นธรรมและตรวจสอบได้
             3.2.4 จัดหาทุนเพื่อพัฒนาทางด้านการศึกษาของบุคลากร
             3.2.5 จัดให้มีระบบการประเมินที่มีประสิทธิภาพและนำผลการประเมินนั้นมาพิจารณาการเลื่อนขั้นเงินเดือน การต่อสัญญาจ้าง
             3.2.6 ประกาศเกียรติคุณบุคลากรผู้ปฏิบัติงานดีเด่น และหน่วยงานดีเด่นประจำปี
             3.2.7 จัดสวัสดิการอื่น ๆ ที่เหมาะสมให้แก่บุคลากรของสำนัก


        3.3 พัฒนาระบบการจัดสรรงบประมาณให้มีประสิทธิภาพ และสอดคล้องกับระบบการจัดสรรงบประมาณของมหาวิทยาลัย
             3.3.1 ปรับปรุงระบบการจัดสรรงบประมาณให้มีประสิทธิภาพ และสอดคล้องกับระบบการจัดสรรงบประมาณของมหาวิทยาลัย
             3.3.2 จัดสรรงบประมาณตามความจำเป็นของแต่ละหน่วยงานให้สอดคล้องกับงบประมาณที่ได้รับ
             3.3.3 จัดสรรงบประมาณรายได้ตามความจำเป็น และสอดคล้องกับที่มาของรายได้


        3.4 จัดสภาพแวดล้อม ภูมิทัศน์ที่เอื้อต่อการเรียนรู้
             3.4.1 จัดตกแต่งสภาพแวดล้อมทั้งภายใน และภายนอกให้ดูสะอาด สวยงาม มีชีวิตชีวาเอื้อต่อการเรียนรู้
             3.4.2 จัดทำสถานที่ให้เป็นสัดส่วนเพื่อจัดเก็บครุภัณฑ์ของสำนักที่ชำรุด และสามารถใช้งานได้ 


        3.5 พัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาด้วยวิธีการสร้างคุณภาพประสานกับการประเมินคุณภาพ
             3.5.1 พัฒนากลไกการประกันคุณภาพการศึกษาของสำนักให้มีมาตรฐาน
             3.5.2 เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเรื่องประกันคุณภาพการศึกษาให้แก่บุคลากรภายในสำนัก
             3.5.3 ใช้ 5ส และ ISO 9001 : 2008 เป็นพื้นฐานในการประกันคุณภาพการศึกษา
             3.5.4 จัดทำรายงานการประเมินตนเอง ประจำปีการศึกษา
             3.5.5 รับการประเมินคุณภาพการศึกษาจากหน่วยงานภายในและภายนอก
             3.5.6 จัดทำแผน Improvement Plan ตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการตรวจประเมินคุณภาพการศึกษา

    Message us